รูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่พริกหัวเรือ จังหวัดอุบลราชธานี
บทคัดย่อ/Abstract
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่พริกตำบลหัวเรือ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจแปลงใหญ่พริกตำบลหัวเรือ เครื่องมือในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus group) คำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มจะใช้แนวทางของ SCOR Model ซึ่งเป็นเครื่องมือในการวัดผลของกระบวนการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่พริกตำบลหัวเรือ มีกระบวนการดังนี้ 1) การวางแผน (Planning) คือ การวางแผนคุณภาพและปริมาณในการขาย 2) การจัดซื้อจัดหา (Source) โดยเกษตรกรปลูกพริก และ ผู้รวบรวมพริกจากสมาชิกเครือข่าย 3) การผลิต (Make) ได้แก่ เกษตรกรผลิตส่งขายผู้รวบรวมท้องถิ่น และพ่อค้าท้องถิ่น 4) การขนส่ง (Deliver) ได้แก่ เกษตรกรส่งพริกไปรวมที่ผู้รวบรวมโดยรถกระบะ และผู้รวบรวม คัดแยก ขนส่งพริกไปยังลูกค้าในประเทศและต่างประเทศโดยเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ และ 5) การส่งคืน (Return) ไม่มีการคืนสินค้า ลูกค้าจะรับซื้อทั้งหมด แต่จะให้ราคาตามลูกค้ากำหนด หรือผู้รวบรวมจะรับซื้อทั้งหมด แต่จะให้ราคาตามคุณภาพพริกและราคากลาง ผลการศึกษาปัญหาที่พบในห่วงโซ่อุปทานกลุ่มวิสาหกิจแปลงใหญ่ตำบลหัวเรือดังนี้ ปัญหาด้านผลผลิต ได้แก่ ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ ต้นทุนการผลิตสูง ปัญหาด้านการตลาด ได้แก่ คุณภาพและปริมาณผลผลิตพริกไม่แน่นอน เกษตรกรขาดอำนาจในการต่อรอง มีการลักลอบนำเข้าพริกจากประเทศเพื่อนบ้าน และ เกษตรไม่สามารถควบคุมคุณภาพพริกที่ส่งออกขาย ในต่างประเทศ ปัญหาของผู้รวบรวม ได้แก่ ด้านการวางแผน ไม่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลคำสั่งซื้อของลูกค้าก่อนเริ่มต้นปลูกพริกไปจนถึงเก็บเกี่ยว ด้านการจัดการผลผลิต คือ ปริมาณและคุณภาพไม่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า และมีการตัดราคากันเองระหว่างผู้รวบรวมกับผู้ค่าในตลาด และด้านการส่งมอบ คือ ต้นทุนการขนส่งสูง และต้นทุนการเก็บรักษาสูง ผลการประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่พริกตำบลหัวเรือ พบว่า สมาชิกวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่พริกหัวเรือทั้งหมด 30 คน มีความพึงพอใจรูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานได้คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.96 ด้านกระบวนการผลิตสินค้าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 4.16 ด้านการจัดหาวัตถุดิบหรือสินค้ามีค่าเฉลี่ย 4.13 ด้านการจัดส่งสินค้ามีค่าเฉลี่ย 3.96 ด้านการวางแผนโซ่อุปทานมีค่าเฉลี่ย 3.87 และด้านการส่งคืนสินค้ามีค่าเฉลี่ย 3.68 ตามลำดับ
This research aims to study the supply chain management model of a mega- community enterprise of chili in Tambon Hua Ruea, with the target group being a member of the mega-community enterprise of chili in Hua Ruea Subdistrict. The qualitative research tools used will include in-depth interviews and focus groups, with the questions following the guidelines of the SCOR Model, which is a tool to measure the results of the supply chain management process. The study identified the following processes: 1) Planning the quality and quantity of sales, 2) Procurement by chili farmers and chili collectors from network members, 3) Production, where farmers produce, send, and sell to local collectors and traders, 4) Transportation, where farmers deliver chilies to gatherers by pickup trucks, and those who collect and sort chilies transport them to domestic and foreign customers by container ships, and 5) Return where there is no product return. Customers purchase all the chili, but the price may vary depending on the customer. Alternatively, the aggregator may purchase all the chili at a price determined by the quality and the prevailing market price. The study identified several problems encountered in the supply chain of mega-community enterprises in Tambon Hua Ruea, including productivity problems such as a lack of quality seeds and high production costs, marketing problems such as uncertain yields and farmers' lack of bargaining power, collector problems such as a lack of exchange of customer order information, production management issues such as the quantity and quality of chili not meeting customer needs and a price cut between the collector and the market valuer, and delivery problems such as high transportation costs and carrying costs. The satisfaction assessment results of the supply chain management model of a mega- community enterprise of chili in Tambon Hua Ruea yielded positive results. All 30 members of the community enterprise of the Hua Rue large chili farm expressed satisfaction with the supply chain management model, giving it an average score of 3.96. In terms of specific processes, the average production process scored 4.16, the procurement of raw materials or products scored 4.13, the delivery of goods scored 3.96, the supply chain planning scored 3.87, and the return of goods scored 3.68.