เที่ยวทิพย์ ฝ่าวิกฤตโควิด: นวัตกรรมการท่องเที่ยววิถีใหม่ด้วยเทคโนโลยีการท่องเที่ยวเสมือนจริง เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี

บทคัดย่อ/Abstract

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนานวัตกรรมการท่องเที่ยววิถีใหม่ด้วยเทคโนโลยีการท่องเที่ยวเสมือนจริง เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีการท่องเที่ยวเสมือนจริงผ่านเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน จังหวัด ผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง จำนวน 25 คน ประกอบด้วย ผู้ประกอบการในแหล่งท่องเที่ยวทั้ง 5 คน ประชาชนในพื้นที่ 5 คน และเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5 คน และนักท่องเที่ยว 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานนวัตกรรมการท่องเที่ยววิถีใหม่ด้วยเทคโนโลยีการท่องเที่ยวเสมือนจริง จำนวน 400 คน ใช้เกณฑ์การคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างประชากรจากสูตรของ Taro Yamane โดยกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนเท่ากับ .05 และระดับความเชื่อมั่น 95% เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการจัดกลุ่มเนื้อหา และการอธิบายเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์และออกแบบนวัตกรรม เที่ยวทิพย์ ฝ่าวิกฤตโควิด: นวัตกรรมการท่องเที่ยววิถีใหม่ด้วยเทคโนโลยีการท่องเที่ยวเสมือนจริง เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี ของแหล่งท่องเที่ยวทั้ง 5 แห่ง ได้แก่ 1) ผาชนะได อำเภอโขงเจียม 2) วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว อำเภอสิรินธร 3) สามพันโบก อำเภอโพธิ์ไทร 4) วัดหนองบัว อำเภอเมืองอุบลราชธานี และ 5) น้ำตกแสงจันทร์ อำเภอโขงเจียม โดยได้มีการพัฒนาเว็บไซต์ Ubon Virtual Tour (https://ubonvirtualtour.com) ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ผู้ดูแลระบบ ผู้เยี่ยมชม ประกอบด้วยเมนูการทำงาน ได้แก่ 1. ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว 2. มุมมองโดยใช้กล้อง VR 3. เสียงดนตรีประกอบ 4. การหมุนภาพอัตโนมัติ และ 5. การแชร์ข้อมูล ซึ่งผู้เข้าชมสามารถเยี่ยมตัวชมแหล่งท่องเที่ยวแบบภาพเสมือนจริง (VR touring) ทั้งแบบภาพ 360°. 2) การส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีการท่องเที่ยวเสมือนจริงผ่านเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน จังหวัดอุบลราชธานี ด้วยการบริการวิชาการแก่โรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมค่ายเด็กดิจิทัล จำนวน 3 รุ่น โดยมีการนำเสนอนวัตกรรมด้านการท่องเที่ยวเสมือนจริง แก่นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัล และสาขาวิชาสมาร์ตแอปพลิเคชัน โดยได้เข้าร่วมอบรมและสาธิตการใช้งานเว็บไซต์ให้กับนักเรียน จำนวน 200 คน ส่งเสริมการท่องเที่ยวในวันเยาวชนแห่งชาติ จังหวัดอุบลราชธานี 2566 “นวัตกรรมยุคดิจิทัล สานฝันเยาวชนที่ยังยืน” โดยได้นำเสนอเว็บไซต์ Ubon Virtual Tour แก่เยาวชน จำนวน 500 คน เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่เข้าร่วมงาน และการนำเสนอแก่ชุมชนในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว โดยสามารถสแกนคิวอาร์โคดเพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ Ubon Virtual Tour พร้อมจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์มอบให้แก่การท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานีและแหล่งท่องเที่ยวทั้ง 5 แห่ง โดยสามารถสแกนผ่านคิวอาร์โคด และจากผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานเว็บไซต์ Ubon Virtual Tour ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ("x" ̅" " = 4.44, S.D = 0.68)

The objectives of this research study are: 1) To develop innovative cultural tourism through virtual reality technology to enhance tourism in Ubon Ratchathani province. 2) To promote tourism through innovative virtual reality technology via a collaboration network between the government sector and private enterprises in the province. The main data providers, totaling twenty five individuals, include: five tourism entrepreneurs, five local residents, five officials from relevant agencies, and five tourists which were specifically selected for a survey assessing satisfaction with the utilization of innovative cultural tourism through virtual reality technology. The sample size of 400 respondents was determined using Taro Yamane's formula for population sample size calculation, with a margin of error set at 0.05 and a confidence level of 95%. Research tools employed in this study consist of questionnaires and interviews. Data analysis involves qualitative content grouping and explanatory description, alongside quantitative analysis using basic statistics, percentages, means, and standard deviations.

Our study revealed that the analysis and design of the virtual tour amid the COVID crisis innovation which is the innovating of cultural tourism through virtual reality technology can enhance tourism in Ubon Ratchathani province, covering five tourist destinations as the followings: Pha Chanadai, Khong Chiam District, Wat Sirinthorn Wararam Phu Prao, Sirindhorn District, Sam Pan Bok, Pho Sai District, Wat Nong Bua, Mueang Ubon Ratchathani District and Saeng Chan Waterfall, Khong Chiam District. This involved the development of the Ubon Virtual Tour website (https://ubonvirtualtour.com) which was segmented into three parts for administrators and visitors, featuring functionalities such as: tourist destination information, virtual reality perspectives using VR cameras, accompanying music, automated image rotation and data sharing. Visitors can experience realistic virtual tours (VR Touring) of the destinations in 360° panoramic views. In addition, our results contributed to tourism promoting through virtual reality technology innovation via a public-private collaboration network in Ubon Ratchathani province. They have presented the Ubon Virtual Tour website, which can be scanned via QR code from tourism information signs. In addition, the satisfaction assessment of Ubon Virtal Tour website using revealed that user satisfaction is very good level ("x" ̅" " = 4.44, S.D = 0.68).