การพัฒนาระบบแนะนำการท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดอุบลราชธานี บนอุปกรณ์สื่อสารชนิดพกพา (ระยะที่2)
บทคัดย่อ/Abstract
งานวิจัยการพัฒนาระบบแนะนำการท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดอุบลราชธานี บนอุปกรณ์สื่อสารชนิดพกพา (ระยะที่ 2) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้ระบบแนะนำการท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดอุบลราชธานี บนอุปกรณ์สื่อสารชนิดพกพา จากนักท่องเที่ยวหรือชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณสถานที่ท่องเที่ยว ในจังหวัดอุบลราชธานี เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ 1. โปรแกรมระบบแนะนำการท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดอุบลราชธานี บนอุปกรณ์สื่อสารชนิดพกพา 2. ผลการประเมินความพึงพอใจของระบบโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวภายในจังหวัดอุบลราชธานี ผลการประเมินความพึงพอใจของระบบ ที่มีต่อการพัฒนาระบบแนะนำการท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดอุบลราชธานี บนอุปกรณ์สื่อสารชนิดพกพา (ระยะที่2) ผลการวิจัยพบว่า
กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากในด้านข้อมูลที่นำเสนอแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติมีความพึงพอใจมากที่สุด เกี่ยวกับปุ่มการทำงานมีความเหมาะสม ใช้งานง่าย ชื่อเมนู สื่อความหมาย เข้าใจง่าย รองลงมาในระดับมาก คือ ความง่ายในการใช้งานระบบ และความเหมาะสมของการกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งาน มีความพึงพอใจเกี่ยวกับข้อมูลที่มีรายละเอียดเพียงพอต่อการท่องเที่ยว โดยรวมอยู่ในระดับมาก
The objective of this research is for the development of a natural tourism guide system in Ubon Ratchathani Province On a portable communication device (Phase 2) is a study on the satisfaction of using the natural tourism recommendation system in Ubon Ratchathani Province. on portable communication devices from tourists or villagers who live in tourist attractions in Ubon Ratchathani Province. on portable communication devices from tourists or villagers who live in tourist attractions in Ubon Ratchathani Province, population, tourists who travel or villagers who live in natural attractions in Ubon Ratchathani Research tools include. 1. Program on natural tourism recommendation system in Ubon Ratchathani Province Using a portable communication device. 2. Assessment of the system's satisfaction, a questionnaire of 400 sets. The population and the sample group used in the study were tourists traveling within Ubon Ratchathani Province. The results of the satisfaction assessment of the system. The results showed that The sample group had a high level of satisfaction with the information presenting the natural attractions the most satisfied. Regarding the operation buttons, they are suitable, easy to use, menu names are meaningful, easy to understand, followed by a high level of ease of use of the system. and the suitability of user rights assignments Satisfied about the information that is detailed enough to travel Overall, it's at a high level.