การพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่สูตรสารสกัดเห็ดสมุนไพรพื้นเมือง

บทคัดย่อ/Abstract

เก็บตัวอย่างเห็ดพื้นเมืองจากพื้นที่ 4 แหล่ง ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี เก็บตัวอย่างเห็ดได้ 69 ตัวอย่างจัดจำแนกตัวอย่างเห็ดพื้นเมืองตามลักษณะสัณฐานวิทยา ออกเป็น 8 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเห็ดมีครีบ กลุ่มเห็ดตับเต่า กลุ่มเห็ดหิ้ง กลุ่มเห็ดวุ้น กลุ่มเห็ดปะการัง กลุ่มเห็ดเขาเหม็น กลุ่มเห็ดลูกฝุ่น  และ กลุ่มเห็ดก้านธูป นำมาคัดแยกเส้นใยบริสุทธิ์บนจากอาหารเลี้ยงเชื้อ potato dextrose agar (PDA) ได้ทั้งสิ้น 18 ไอโซเลต โดยเส้นใยส่วนมากมีลักษณะสีขาวฟู ละเอียด เส้นบางคล้ายสำลี นำเส้นใยเห็ดมาทดสอบการสร้างอะฟลาทอกซิน บนอาหาร coconut agar (CCA) พบว่า ไม่มีการสร้างอะฟลาทอกซิน เพาะเส้นใยเห็ดในอาหาร potato dextrose broth (PDB) บนเครื่องเขย่า นาน 15 วัน แยกเส้นใยเห็ดโดยการปั่นเหวี่ยง นำเส้นใยไปหาชีวมวล พบว่า มีชีวมวลอยู่ในช่วงระหว่าง 0.53 - 2.38 กรัมต่อ 200 มิลลิลิตร โดยเห็ดหูหนู (Auriculalia auricular-judae) ไอโซเลต VNR105 มีชีวมวลสูงกว่าไอโซเลตอื่นอย่างมีนัยสำคัญ นำส่วนใสไปสกัดเอกโซโพลิแซคคาไรด์ (EPS) พบว่า EPS มีน้ำหนักอยู่ในช่วงระหว่าง 0.015 - 0.934 กรัมต่อลิตร เห็ดเกือกม้าเหลือง (Pycnoporus cinnabarinus) ไอโซเลต BNL116 ผลิต EPS ได้มากกว่าไอโซเลตอื่นอย่างมีนัยสำคัญ วิเคราะห์องค์ประกอบของ EPS ด้วยเครื่อง FTIR พบว่าองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดมีองค์ประกอบของโพลิแซคคาไรด์ นำมาทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียบางชนิด ด้วยวิธี disc diffusion พบว่า  EPS จากเห็ดพื้นเมือง มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่แตกต่างกัน แต่ทุกไอโซเลตสามารถยับยั้บเชื้อ Escherichia coli ได้ นำ EPS จากเห็ดที่สามารถผลิต EPS ได้สูงสุด 3 ชนิดมาทำเป็นสบู่สมุนไพรจากเห็ด ผลการทดสอบความพึงพอใจต่อสบู่อยู่ในระดับดี


Local mushroom were collected from 4 source in Ubon Ratchathani province.
A total number of 69 mushroom specimens were collected. All of mushroom were classified by used of morphological characteristics to 8 groups such as Agarics, Boletes, Bracket mushroom, Jelly mushroom, Coral mushroom, Stinkhorn mushroom, Puff ball and Club mushroom. Pure mycelium were isolated on potato dextrose agar (PDA).Total of 18 isolates were isolated on plate to pure mycelium. All of mushrooms mycelium were presented spongy white. The result found that the mushroom mycelium could not produce aflatoxin. The mycelium was cultivated in potato dextrose broth (PDB) on shaking incubator for 15 days. After that, the liquid culture was separated by centrifuge. The mycelium was indicated biomass by dry weight method and Exopolysaccharide (EPS) production was indicated by ethanol extraction method. The result found that, mycelium biomass was the range between 0.53 - 2.38 g/200 ml. (Auricularia Auricular-judae) isolate VNR105 has the highest biomass than other isolated, respectialy and EPS was the range between 0.015 - 0.934 g/l. Yellow horseshoe mushroom (Pycnoporus Cinnabarinus) Isolated BNL116 produced the highest EPS than other isolated, respectialy. Result of FTIR analysis confirmed the polysaccharide structure of EPS. The Inhibition efficiency of EPS to some antibacterial activities were test by disc diffusion method. The result showed that, all mushroom EPS can inhibited Escherichia coli but showed different effect on other bacteria. Three highest EPS from mushroom were used to made mushroom soaps.  The result of satisfaction test shown enjoyable.