วิเคราะห์ความแปรปรวนทางพันธุกรรมของกระเจียวบัวลาย (Curcuma rhabdota) ในสภาพธรรมชาติของสวนพฤกษศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ดงฟ้าห่วน) จังหวัดอุบลราชธานี
บทคัดย่อ/Abstract
ไม้ล้มลุกกลุ่มกระเจียว (Curcuma) จัดอยู่ในวงศ์ Zingiberaceae มีลำต้นเป็นเหง้าใต้ดิน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมนำช่อดอกมารับประทาน ด้วยลักษณะความสูงของต้น และกลีบดอกที่มีสีสันแตกต่างกัน อาจทำให้เกิดการสับสนในการจัดจำแนกชนิดของกระเจียวที่พบในธรรมชาติงานวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาความแปรปรวนทางพันธุกรรมของกระเจียวด้วยเทคนิค AFLP (Amplified Fragment Length Polymorphism) ที่นำมาปลูกในสภาพธรรมชาติของสวนพฤกษศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ดงฟ้าห่วน) จังหวัดอุบลราชธานี โดยการเก็บตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 24 ตัวอย่าง ได้แก่ Curcuma rhabdota Sirirugsa & M.F. Newman (n=5), Curcuma sp. (n=15), Curcuma alismatifolia Gagnap (n=3) และ Curcuma petiolata (n=1) ทำการสกัด ดีเอ็นเอ ด้วยวิธี CTAB หลังจากนั้นนาดีเอ็นเอไปตัด ต่อ และ เพิ่มปริมาณดีเอ็นเอวิธี PCR ตามเทคนิค AFLP โดยใช้ไพรเมอร์ 12 คู่ ผลของการวิเคราะห์ความแปรปรวนใน Curcuma พบว่า มีไพรเมอร์ 2 คู่ ที่ให้แถบดีเอ็นเอเป็นแบบ monomorphic และมีไพรเมอร์ทั้งหมด 10 คู่ ซึ่งได้แก่ E-ACA/M-CAT, E-AGC/M-CAT, E-AAC/M-CAT, E-AGC/M-CAA, E-ACC/M-CAG, E-ACA/M-CTT, E-AGG/M-CTT, E-ACA/M-CTA, E-AAG/M-CTC และ E-ACG/M-CTC ที่พบแถบของดีเอ็นเอที่แตกต่างกัน (polymorphic) และสามารถแยกความแตกต่างของระเจียวทั้ง 4 ชนิดได้เป็น 2 กลุ่ม โดยเฉพาะกระเจียวลายมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมใกล้ชิดกับบัวชั้น ซึ่งข้อมูลที่ได้เหล่านี้มีประโยชน์สามารถนำไปใช้ในด้านการอนุรักษ์สายพันธุ์ การเพาะพันธุ์ และปรับปรุงพันธุ์ในอนาคตต่อไป
The Curcuma Group is located in the Zingiberaceae, with the ground as an underground rootship . In the north-eastern part, A bouquet of flowers is eaten. With the height of the trees and different colorful petals, there may be a cause of confusion in the arrangement of the type of leags found in nature. This research has been studied for its genetic variability with AFLP (amplified Fragment Length polymorphism) technique. To be planted in the natural state of the Northeastern Botanical Garden (Dong Fah Huan), Ubon Ratchathani province by collecting a total of 24 samples, including Krajeaw Bua lai ; Curcuma rhabdota Sirirugsa & M.F. Newman (n =5), Krajeaw Bua chan ; Curcuma sp. (n =15), Patumma ; Curcuma alismatifolia gagnap (n =3) and Krajeaw tubtim siam ; Curcuma petiolata (n =1), How to do DNA extraction CTAB after the DNA to cut. Further and increase the DNA dosage method PCR according to the AFLP technique, using the 12-pair primer, the result of the analysis of variance in Curcuma found that there are 2 pairs of two primers that give the DNA band a monomorphic and a total of 10 pairs, including E-ACA/M-CAT, E-AGC/M-CAT, E-AAC/M-CAT, E-AGC/M-CAA, E-ACC/M-CAG, E-ACA/M-CTT, E-AGG/M-CTT, E-ACA/M-CTA, E-AAG/M-CTC and E-ACG/M-CTC found different DNA strips. Polymorphic and can distinguish The four types of Curcuma into two groups, specifically, the Krajeaw Bua lai has a genetic relationship close to the Krajeaw Bua chan. This useful information can be used in the field of conservation of species. Breeding and breeding in the next future.