การศึกษาบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนล่าง อุบลราชธานี
บทคัดย่อ/Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นที่ แหล่งน้ำ ศักยภาพของแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรของกลุ่มเกษตรกร สภาพการใช้น้ำเพื่อการเกษตร พัฒนาการของการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรรวมทั้งปัญหา สาเหตุ และข้อจำกัด ลักษณะและองค์ประกอบของกลไกในระดับท้องถิ่นการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และแนวทางการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกหน่วยงานราชการ 9 หน่วยงาน และแบบสอบถามเกษตรกร 417 คน การจัดประชุมกลุ่มย่อย ในพื้นที่ 8 อำเภอที่อยู่ในลุ่มน้ำมูลตอนล่าง โดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร การมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้น้ำ รวมทั้งผลลัพธ์ที่ได้
ผลการศึกษา พบว่า การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนล่าง จังหวัดอุบลราชธานี มีการบริหารจัดการน้ำแบบชลประทานโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงาน มีการถ่ายโอนน้ำชลประทานให้กับหน่วยงานในท้องถิ่น งานด้านการบริหารจัดการน้ำที่มีเด่นชัดคือ ระบบชลประทานระบบท่อขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ชลประทานของเขื่อนสิรินธร และระบบชลประทานของทหาร มีการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อใช้น้ำและกำหนดกฎ กติกา ระเบียบการใช้น้ำร่วมกัน ปัญหาการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรของจังหวัดอุบลราชธานี คือ ขาดการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนแนวทางการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร พบว่ามีการกำหนดขอบเขตเกี่ยวกับผู้ใช้ทรัพยากร กำหนดกฎระเบียบการใช้และดูแลน้ำ มีกระบวนการส่งเสริมการให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมตัดสินใจ มีกลไกการติดตามกำกับดูแลที่มีประสิทธิผล มีกระบวนการลงโทษอย่างเป็นขั้นตอน และมีกลไกจัดการความขัดแย้งร่วมกัน เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหลัก โดยจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำภาคการเกษตร หรือคณะกรรมการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ การจัดสรรทรัพยากรน้ำในลักษณะกลุ่มเกษตรกรแต่ละอำเภอที่เป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ โดยการตกลงทำบันทึกความเข้าใจหรือเอ็มโอยู (Memorandum Of Understanding: MOU) การใช้น้ำร่วมกัน ระหว่างพื้นที่ต้นน้ำ พื้นที่กลางน้ำ และพื้นที่ปลายน้ำ โดยร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานีและโครงการชลประทานอุบลราชธานี เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำและกักเก็บน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน
The objective of this research was to study area conditions, water resources, and potential of water sources for agriculture among farmers. water use conditions for agriculture Development of water resources development for agriculture including problems, causes and limitations, characteristics and components of local mechanisms. Participation and ways to build cooperation in the development of water resources for agriculture. Data collection by in-depth interviews with 9 government agencies and a questionnaire of 417 farmers. Focus- group meetings were organized in 8 districts in the lower Mun River basin by participant observation. Analyze the data by content analysis. Factors affecting water management and participation of all sectors.
Results showed that water management for agriculture in the Lower Mun River Basin Ubon Ratchathani province. Irrigation water management is carried out by various relevant government agencies. Irrigation water is transferred to local authorities. The most prominent water management tasks are Irrigation system, pipe system of the Ubon Ratchathani Provincial Administrative Organization. Sirindhorn Dam irrigation and military irrigation system A group of farmers to use water and set rules, regulations, rules for sharing water. Problem of water management for agriculture in Ubon Ratchathani province is the lack of integration and cooperation of relevant agencies. The guidelines for water management for agriculture It was found that the scope was defined on the user of the resource. Establish rules for the use and care of water. There is a process to encourage stakeholders to participate in decision making. There is an effective monitoring mechanism. There is a step-by-step punishment process. and have a common conflict management mechanism Emphasis is placed on public participation. by establishing a group of water users in the agricultural sector or the water management committee for agriculture in the area Water resource allocation in a systematic way for farmers in each district and effective by agreeing to enter into a Memorandum Of Understanding (MOU) on water sharing between the watershed area mid-water area and downstream areas by joining forces with the Ubon Ratchathani Provincial Administrative Organization and the Ubon Ratchathani Irrigation Project to solve water shortage problems and store water during the flooding season for farmers sustainably.