การพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินการพยาบาลผู้สูงอายุ ในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA)

บทคัดย่อ/Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้การดูแลผู้สูงอายุในสถานบริบาลตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ 2) เพื่อสร้างเกณฑ์การประเมินและแบบประเมิน การดูแลผู้สูงอายุในสถานบริบาลตามกรอบเกณฑมาตรฐานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ การดำเนินการวิจัยแบ่ง ออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 พัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินการดูแลผู้สูงอายุในสถานบริบาล โดยการสังเคราะห์เอกสารและการสัมภานณ์เชิงลึก ขั้นตอนที่ 2 ประเมินความตรงเชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้ด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยมีตัวอย่างเป็นผู้บริหาร พยาบาลวิชาชีพและบุคลากรในสถานบริบาล จำนวน 230 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันผลการวิจัยพบว่า ตัวบ่งชี้การดูแลผู้สูงอายุในสถานบริบาลตามกรอบเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติมี 23 ตัวบ่งชื้ ใน 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ด้านผลิตภัณฑ์และกระบวนการ มี 5 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 ด้านลูกค้า มี 3 ตัวบ่งซื้ องค์ประกอบที่ 3 ด้านบุคลากร มี 7 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 4 ด้านการนำองค์กรและการกำกับดูแลองค์กร มี 5 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 5 ด้านการเงิน ตลาด และกลยุทธ์ มี 3 ตัวบ่งชี้ ตามลำดับ และจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5 โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง 0.606 - 0.815 มีค่า X2 = 321.178 df= 209 p=0.0000 CFI= 0.960 TLI= 0.952 RMSEA=0.048

The purposes of this study were to 1) develop the indicators on elderly care in nursing homes under the framework of Thailand Quality Award standard criteria and, 2) generate the evaluation criteria and the evaluation form on elderly care in nursing homes under the framework of Thailand quality award standard criteria. The study was conducted in 2 stages; (i) the development of indicators and evaluation criteria on elderly care in nursing homes via literature reviews and in-depth interview, and (ii) the indicator structural validity evaluation via confirmatory factor analysis. The samples in this study, 230 administrators, professional nurses, nursing home personnel, were selected by a random sampling technique. The in-depth interview form and a questionnaire with the reliability coefficient at 0.89 were employed in this study. Data were analyzed by content analysis, mean, standard deviation, and confirmatory factor analysis. The findings revealed the 23 indicators of 5 components on elderly care in nursing homes under the framework of Thailand Quality Award as the followings; 5 indicators on the product and process, 3 indicators on the customers, 7 indicators on personnel, 5 indicators on leading and monitoring organization, 3 indicators on the financial, marketing and strategies, respectively. The confirmatory factor analysis also supported the congruency between the models and the empirical data with the statistically significant at 0.5, the component loading at 0.606 – 0.815, 2 = 321.178, df= 209, p= 0.0000, CFI= 0.960, TLI= 0.952, and RMSEA= 0.048