การปรับปรุงกระบวนการผลิตข้าวโป่งเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองเลิง ต.แคนน้อย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร
บทคัดย่อ/Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตข้าวโป่งเพื่อเพิ่มผลผลิตการผลิตข้าวโป่ง โดยลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตข้าวโป่งของวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองเลิง
ต.แคนน้อย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร มีปัญหาการผลิตไม่ทันตามยอดสั่งซื้อ จากการศึกษาสภาพปัญหาเบื้องต้นโดยใช้เครื่องมือแผนภาพสายธารคุณค่า (Value Stream Mapping : VSM) มีเวลานำตั้งแต่รับวัตถุดิบ ผ่านกิจกรรมแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวโป่งเท่ากับ 2,066.03 นาที ซึ่งเป็นเวลานานประกอบด้วยรอบเวลาผลิต 1,187.79 นาที เวลารอคอย 878.24 นาที ซึ่งพบปัญหาการรอคอยเกิดขึ้นที่กิจกรรมการปั้นข้าว กิจกรรมการกดให้เป็นแผ่น และกิจกรรมการแกะรอตาก จากนั้นใช้แผ่นตรวจสอบเก็บข้อมูลการรอคอยที่เกิดขึ้นในกิจกรรมทั้ง 3 กิจกรรม พบว่า การรอคอยการผลิตระหว่างกระบวนการ (Work in Process : WIP) คิดเป็นร้อยละ 97.22 ของจำนวนงานที่รอคอยทั้งหมด ซึ่งเป็นความสูญเปล่า
ที่ต้องกำจัด จากนั้นวิเคราะห์สาเหตุโดยใช้เครื่องมือ Why – Why Analysis และหาแนวทางในการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยใช้เครื่องมือ ECRS เพื่อออกแบบวิธีการทำงานให้ง่ายและเวลาการผลิตรวดเร็วขึ้นและกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน (1) อุปกรณ์กดก้อนข้าวในกิจกรรมการกดให้เป็นแผ่น (2) อุปกรณ์ปิดกั้นลมในกิจกรรมแกะรอตาก จากการดำเนินการปรับปรุง ส่งผลให้รอบเวลาการผลิตลดลงร้อยละ 13.75 เวลารอคอยลดลงร้อยละ 81.00 เวลานำการผลิตลดลงร้อยละ 42.34 ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 987 แผ่น เป็น 1,400 แผ่นต่อวัน ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยต่อปีเพิ่มขึ้นจาก 284,256 บาท เป็น 403,200 บาทต่อปี ซึ่งเพิ่มรายได้และพัฒนาเศรษฐกิจให้วิสาหกิจชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
This research aims to creation the improvement for development productivity of the Khao-Pong production of Ban Nong Loeng community enterprise group, Kan Noi, Kham Khuean Kaeo district, Yasothon province. The problem is not made to order. The principle problem by using value stream mapping (VSM) shows that the production lead time was too long, that is 2,066.03 minutes, consisting of processing time and waiting time of 1,187.79 minutes and 878.24 minutes. The production lead time in this research was received materials to transforming to Khao-Pong products. It is found the waiting were three activities : 1) rice molding 2) pressing to rice sheets 3) chipping rice sheets. Then applied check sheet tool to collection waiting data of all activities, that is waiting to produced or work in process (WIP) 97.22% of waiting, that is wastes, and must be elimination. To fulfill the purpose, the why – why analysis was applied to analyzed causes and applied ECRS tools for increasing production efficiency with designed method to simplify and cycle time faster. The standard work were 1) jig - fixture of pressing to rice sheets 2) setting equipment to block the wind. The result show that decrease cycle time decrease 13.75%, waiting time decrease 81.00% which production lead time decrease 42.34%. And increasing productivity from 987 sheets to 1,400 sheets per day. So, increasing revenue 284,256 baht to 403,200 baht per year. As a result, increasing income and development economy for continuous and sustainable community enterprise.