การพัฒนาภูมิปัญญาหัตถกรรมพื้นบ้านสู่นวัตกรรม

บทคัดย่อ/Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาหัตถกรรมพื้นบ้านสู่นวัตกรรมชุมชน อันจะนำไปสู่นวัตกรรมชุมชนเชิงสร้างสรรค์ 2) เพื่อพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมชุมชนหัตถกรรมพื้นบ้านตามแนวชายแดน จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 3) เพื่อสร้างชุดความรู้ ในการพัฒนาภูมิปัญญาหัตถกรรมพื้นบ้านสู่นวัตกรรมชุมชนอย่างยั่งยืน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยชุมชนซึ่งผู้วิจัยได้บูรณาการระเบียบวิธีวิจัยของศาสตร์ทั้ง 3 สาขามาประยุกต์ใช้ในการวิจัย อันได้แก่ 1) การศึกษาเชิงคุณภาพ 2) การวิจัยแบบมีส่วนร่วม และ 3) การวิจัยทางคติชนวิทยา ซึ่งผู้วิจัยเลือกใช้เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบสอบถาม 3) แบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วม 4) แบบบันทึกการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non Participant Observation) เพื่อเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน สมาชิกกลุ่มหัตถกรรม

ผลการศึกษาพบว่า ด้านความหลากหลายของภูมิปัญญาหัตถกรรมพื้นบ้านในชุมชนชายแดน จังหวัดอุบลราชธานี พบว่ามีทั้งหัตถกรรมที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน หัตถกรรม ที่เป็นเครื่องมือดักจับสัตว์ อันสื่อให้เห็นถึงภูมิปัญญาของบรรพชนที่ได้รับการอนุรักษ์สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน 1) จากการศึกษาความหลากหลายของภูมิปัญญาหัตถกรรมพื้นบ้านของชุมชนชายแดน พบว่า หัตถกรรมพื้นบ้าน 10 ชนิด ได้แก่ (1) ก่องข้าว (2) กระติบข้าว (3) หวด (4) กะด้ง (5) ข่อง (6) ตะกร้า (7) จองตักปลาแดก (8) ตุ้มกบ (9) ฝาซี และ (10) ไม้กวาดทางมะพร้าว 2) ด้านการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมชุมชนหัตถกรรมพื้นบ้านตามแนวชายแดน จังหวัดอุบลราชธานี พบว่ามี 3 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นการจัดเวทีเพื่อระดมความคิดเห็นของชุมชน (2) ขั้นการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมหัตถกรรมพื้นบ้าน (3) ขั้นการคืนความรู้สู่ชุมชน ซึ่งทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 5 แบบ ได้แก่ (1) กระถางต้นไม้จากตะกร้า (2) กระถางดอกไม้จากหวด (3) กระเป๋าจากหวดแบบที่ 1 (4) กระเป๋าจากหวดแบบที่ 2 (5) กระเป๋าจากกระติบข้าว ซึ่งมีขั้นตอนการพัฒนาต้นแบบหัตถกรรมพื้นบ้าน 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นการออกแบบ ขั้นที่ 2 ขั้นลงมือจัดทำต้นแบบ ขั้นที่ 3 ขั้นการวางจำหน่าย ด้านการสร้างชุดความรู้ในการพัฒนาภูมิปัญญาหัตถกรรมพื้นบ้านสู่นวัตกรรมชุมชน อย่างยั่งยืน จัดทำหนังสือเล่มเล็ก ชุดความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาภูมิปัญญาหัตถกรรมพื้นบ้านในชุมชนชายแดน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีเนื้อหา บทที่ 1 ภูมิปัญญาหัตถกรรมพื้นบ้านในชุมชนชายแดน จังหวัดอุบลราชธานี บทที่ 2 ประเภทของหัตถกรรมพื้นบ้านของชุมชนชายแดนจังหวัดอุบลราชธานี บทที่ 3 การพัฒนาหัตถกรรมพื้นบ้านสู่นวัตกรรมชุมชนThe objectives of this research were 1) to study local handicraft wisdom towards community innovation. This will lead to creative community innovation. 2) To develop an innovation model for local handicraft communities along the border. Ubon Ratchathani Province using creative economy This research is a community research in which the researcher has integrated the research methodology of the three fields of science to apply in research which are 1) qualitative research 2) participatory research and 3) educational research. folklore The researcher chose to use the research tools as follows: 1) in-depth interview form 2) questionnaire 3) participant observation record form 4) non-participant observation record form to collect data from the sample group. In the research were village sages, community leaders, villagers, members of the handicraft group.

The results of the study found that Diversity of local handicraft wisdom in border communities Ubon Ratchathani Province Found that both handicrafts and household tools. Animal trapping craft which conveys the wisdom of the ancestors that have been preserved and passed on to the present From studying the diversity of local handicraft wisdom of the border communities, it was found that 10 types of folk handicrafts were 1) rice bowls 2) rice baskets 3) wads 4) kadong 5) khong 6) baskets 7) jeong lap pla dak 8) tam kob. 9) C lid 10) Coconut broom Development of innovative prototypes of local handicraft communities along the border In Ubon Ratchathani Province, it was found that there were 3 steps: 1) a stage for organizing a forum to brainstorm opinions of the community 2) a stage for developing innovative prototypes of local handicrafts 3) a stage for returning knowledge to the community. This resulted in five prototype products: a plant pot from a basket. flowerpot from a steamer A bag from a steamer type 1 A bag from a steamer type 2 A bag from a rice basket There are three steps for developing a prototype of a traditional handicraft, which are: Step 1, Design Stage, Step 2, Prototype Making, Step 3, Release Stage. Creating a knowledge set in the development of local handicraft wisdom towards sustainable community innovation make a booklet Knowledge set about the development of local handicraft wisdom in border communities Ubon Ratchathani Province, with the content of Chapter 1, Local Handicraft Wisdom in Border Communities Ubon Ratchathani Province Chapter 2 Types of Folk Handicrafts of Ubon Ratchathani Border Community Chapter 3 Development of Folk Handicrafts to Community Innovation