การศึกษาคุณสมบัติของบล็อกประสาน กรณีศึกษา บล็อกประสานในจังหวัดอุบลราชธานี
บทคัดย่อ/Abstract
งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคุณสมบัติของบล็อกประสานเพื่อใช้ในการจำแนกประเภทตามการรับน้ำหนัก และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกำลังรับแรงอัดของก้อนบล็อกประสานกับกำลังอัดของปริซึมจากบล็อกประสาน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นบล็อกประสานที่ผลิตในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งผลการศึกษาที่ได้มีรายละเอียดดังนี้คือ
กำลังรับแรงอัดของก้อนบล็อกประสานจากโรงงานชัยวัฒนา กรณีที่ไม่มีปูนเกร้าท์มีค่า 4.86 เมกะพาสคัล และกรณีที่มีปูนเกร้าท์มีค่า 11.27 เมกะพาสคัล ในขณะที่กำลังอัดของก้อนบล็อกประสานจากโรงงานอุบลบล็อกประสานกรณีที่ไม่มีปูนเกร้าท์มีค่า 6.23 เมกะพาสคัล และกรณีที่มีปูนเกร้าท์มีค่า 7.28 เมกะพาสคัล ทั้งนี้เมื่อจำแนกประเภทของบล็อกประสานตามมาตรฐาน มผช.602-2547 พบว่า บล็อกประสานจากทั้งสองโรงงานจัดเป็นบล็อกประสานชนิดไม่รับน้ำหนัก ทั้งนี้เนื่องจากมีค่าการดูดซึมน้ำของบล็อกประสานเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ในมาตรฐานดังกล่าว
อัตราส่วนกำลังรับแรงอัดของปริซึมต่อกำลังอัดของก้อนบล็อกประสานจากโรงงานชัยวัฒนาในกรณีที่ไม่มีปูนเกร้าท์ มีค่าร้อยละ 32.1-78.0 และในกรณีที่มีปูนเกร้าท์ มีค่าร้อยละ 48.6-64.4 อัตราส่วนกำลังรับแรงอัดของปริซึมต่อกำลังอัดของก้อนบล็อกประสานจากโรงงานอุบลบล็อกประสานในกรณีที่ไม่มีปูนเกร้าท์ มีค่าร้อยละ 32.4-58.4 และในกรณีที่มีปูนเกร้าท์ มีค่าร้อยละ 60.1-72.7
ในภาพรวมค่าความเครียด ค่าอัตราส่วนกำลังอัดต่อมอดูลัสยืดหยุ่นของปริซึมมีค่าโดยเฉลี่ยเท่ากับ 106 ค่าความเครียด ณ.จุดที่กำลังอัดสูงสุดของปริซึมทั้งที่มีปูนเกร้าท์และมีปูนเกร้าท์ มีค่าโดยประมาณเท่ากับ 0.01 และมีแนวโน้มค่อนข้างคงที่เมื่ออัตราส่วนความชะลูดมีค่าเพิ่มขึ้น
The aim of this research is to study the properties of interlocking block that use for block classification by load type, and to study the relationship between the compressive strength of the interlocking block unit and that of the interlocking block prism. The test samples used in this study are the interlocking block produced in the area of Ubon Ratchathani province. The results of the study are as follows:
The compressive strength of interlocking block unit from Chaiwattana factory without grout mortar is 4.86 MPa, and that of with grout mortar is 11.27 MPa. The compressive strength of interlocking block unit from Ubon-block-prasan factory without grout mortar is 6.23 MPa, and that of without grout mortar is 7.28 MPa. Based on the criteria of Community Product Standards 602-2547, both interlocking blocks from 2 factories are classified as unload-bearing block. This is due to the water absorption of interlocking blocks exceeds the value specified in that standard.
The compressive strength ratio of the prism to that of the interlocking block unit from Chaiwattana factory is 32.1-78.0 percent for test specimens with grout mortar and 48.6-64.4 percent for test specimens without grout mortar. The compressive strength ratio of the prism to that of the interlocking block unit from Ubon-block-prasan factory is 32.4-58.4 percent for test specimens with grout mortar and 60.1-72.7 percent for test specimens without grout mortar.
Overall, the elastic modulus and the compressive strength ratio of prism is 106 Strain at the maximum compressive strength of the prism, both with and without grout mortar is about 0.01 and it is almost constant when slenderness ratio increases.