การพัฒนาภูมิปัญญาผ้าทอพื้นบ้านสู่นวัตกรรมชุมชน
บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาภูมิปัญญาผ้าทอพื้นบ้านสู่นวัตกรรมชุมชน อันจะนำไปสู่นวัตกรรมชุมชนเชิงสร้างสรรค์ 2)เพื่อพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมชุมชนผ้าทอพื้นบ้าน ตามแนวชายแดนจังหวัดอุบลราชธานีโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 3) เพื่อสร้างชุดความรู้ในการพัฒนาภูมิปัญญาผ้าทอพื้นบ้านสู่นวัตกรรมชุมชนอย่างยั่งยืน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยชุมชนซึ่งผู้วิจัยได้บูรณาการระเบียบวิธีวิจัยของศาสตร์ทั้ง 3 สาขามาประยุกต์ใช้ในการวิจัย อันได้แก่ การศึกษา เชิงคุณภาพ การวิจัยแบบมีส่วนร่วม และการวิจัยทางคติชนวิทยา ซึ่งผู้วิจัยเลือกใช้เครื่องมือในการวิจัยได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม แบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วมเพื่อเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือปราชญ์ชาวบ้านผู้นำชุมชน ชาวบ้าน สมาชิกกลุ่มผ้าทอพื้นบ้าน ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านความหลากหลายของภูมิปัญญาผ้าทอพื้นบ้านในชุมชนชายแดนจังหวัดอุบลราชธานีสามารถรวบรวมได้ 3 ระการ ได้แก่ 1.1) ลวดลายและชนิดของผ้าทอพื้นบ้าน แบ่งได้ 3 ประเภท คือ (1) ผ้ามัดหมี่ พบ 6 ลาย ได้แก่ ลายมัดหมี่วง ลายมัดหมี่บักจับ ลายมัดหมี่พิกุล ลายมัดหมี่ข้าวหลามตัด ลายมัดหมี่สายฝน และลายมัดหมี่ต้นข้าว (2) ผ้าลายขิด พบ 5 ลาย ได้แก่ ลายขิดดอกไม้ ลายขิดผีเสื้อ ลายขิดช้าง ลายขิดปลาบึก และลายขิดผาแต้ม (3) ผ้าลายจก พบ 4 ลาย ได้แก่ ลายจกดาว ลายจกผาแต้ม ลายจกช้าง และลายจกปลาบึก จำแนกตามประโยชน์การใช้งาน จะพบ 5 ประเภท ได้แก่ ผ้าคลุมไหล่/ผ้าพันคอ ผ้าปูโต๊ะ ผ้าซิ้น ผ้าคลุมเตียง และผ้าตัดเย็บ 1.2) อุปกรณ์ทอผ้าพื้นบ้าน พบ 9 ชิ้น ได้แก่ กี่ ฟืม เขาหูกทอผ้า กระสวย หลอดฝ้าย กงดีดฝ้ายอิ้วเข็นฝ้าย อักเข็นฝ้าย และหลาเข็นฝ้าย 1.3) ขั้นตอนในการทอผ้าพื้นบ้าน พบว่ามี 11 ขั้นตอน ได้แก่ การปลูกฝ้าย การเก็บเกี่ยวฝ้าย การอิ้วฝ้าย การดีดฝ้าย การล้อฝ้าย การเข็นฝ้าย การเปียฝ้ายการซักฝ้าย การย้อมฝ้าย การเข้าหลอด และการทอ2)ด้านการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมผ้าทอพื้นบ้านในชุมชนชายแดนจังหวัดอุบลราชธานี พบว่ามี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 2.1) ขั้นการจัดเวทีเพื่อระดมความคิดเห็นของชุมชน2.2)ขั้นการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมผ้าทอพื้นบ้าน และ 2.3) ขั้นคืนความรู้ สู่ชุมชน ซึ่งทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 5 แบบ ได้แก่ ตุ้มหูผ้า เข็มกลัด กระเป๋าโทรศัพท์ พวงกุญแจ และปกสมุดบันทึก 3) ด้านการสร้างชุดความรู้ภูมิปัญญาผ้าทอพื้นบ้านสู่นวัตกรรมชุมชนอย่างยั่งยืนจัดทำหนังสือเล่มเล็ก ชุดความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผ้าทอพื้นบ้านในชุมชนชายแดน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีเนื้อหา บทที่ 1 ภูมิปัญญาผ้าทอพื้นบ้านในชุมชนชายแดน จังหวัดอุบลราชธานี บทที่ 2 ประเภทของผ้าทอพื้นบ้านของชุมชนชายแดน จังหวัดอุบลราชธานีบทที่ 3 การพัฒนาผ้าทอพื้นบ้านสู่นวัตกรรมชุมชน
The object of this research were 1) to study of local textile wisdom towards community innovation in which will lead to creative community innovation. 2) To develop an innovation model for local textile communities along the border of Ubon Ratchathani Province. 3) To create a knowledge set in the development of local textile wisdom to sustainable community innovation. This research is a community research in which the research has integrated the research methodology of the three fields of science to apply in research which are 1) qualitative research 2) participatory research and 3) educational research of folklore. The researcher chose to use the research tools as follows: 1) in-depth interview form 2) questionnaire 3) participant observation record form 4) non-participant observation record form to collect data from the sample group. In the research were village sages, community leaders, villagers, members of the local textile group. The results of the study found that: 1) The diversity of local textile in border communities Ubon Ratchathani Province found that 1.1) patterned and types of local textile were (1) Mudmee silk set is the sixth pattern: Wong, Bak Jab, Pikull, Khao Larm Tud, Saifon,Tonkaw. (2) Khit silk set is the fifth pattern: Flower, Butterfly, Elephant, Pla-Buek, Pha Taem. (3) Jok silk set is the fourth pattern: Dao, Pha Taem, Elephant, Pla-Buek. The classified according to use was found that 5 types: shaw and scarf, tablecloth, pha sin, coverlet, sewing cloth. 1.2)The equipment of local textile weaving was found that 9 types: loom, reeds, warp stick catcher, shuttles, spool, bow,cotton ginning, cotton spun, cottonspinning.1.3) The weavingprocesswasoundthat11steps: cultivating, harvesting, ginning, flicking, wheeling, spinning, thread,washing, dyeing, winding, weaving. 2) The development of innovative prototypes of local textile communities along the border in Ubon Ratchani Province, it was found that there were 3 step: 2.1) a stage for organizing a forum to brainstorm opinions of the community 2.2) a stage for developing innovative prototypes of local textile 2.3) a stage for returning knowledge to the community. This resulted in five prototype products: embroidered earrings, brooch, bag phone, key chain, notebook cover. 3) The creating a knowledge set in the development of local textile wisdom towards sustainable community innovation make a booklet knowledge set about the development of local textile wisdom in border communities Ubon Ratchathani Province, with the content of Chapter 1, Local Textile Wisdom in Border Communities Ubon Ratchathani Province, Chapter 2 Types of Folk Textile Wisdom of Ubon Ratchathani in Border Communities, Chapter 3 Development of Folk Textile to Community Innovation.