ภูมิปัญญาผ้าทอบ้านหนองบ่อ จ.อุบลราชธานี สู่การสร้างสรรค์นาฏศิลป์ ชุดลงข่วงเข็นไหมสาวบ้านหนองบ่อทอผ้าลายปราสาทผึ้ง
บทคัดย่อ/Abstract
งานวิจัยภูมิปัญญาผ้าทอบ้านหนองบ่อ จ.อุบลราชธานี สู่การสร้างสรรค์นาฏศิลป์ชุด ลงข่วงเข็นไหม สาวบ้านหนองบ่อทอผ้าลายปราสาทผึ้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมภูมิปัญญาในการทอผ้ามัดหมี่ ลายปราสาทผึ้งของชุมชนบ้านหนองบ่อ จังหวัดอุบลราชธานี และสร้างสรรค์ชุดการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้าน ชุด ลงข่วงเข็นไหมสาวบ้านหนองบ่อทอผ้าลายปราสาทผึ้งจากภูมิปัญญาการทอผ้าของชุมชนบ้านหนองบ่อ จังหวัดอุบลราชธานี ให้เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นผู้วิจัยได้ลงพื้นที่ ศึกษารวบรวมข้อมูลเอกสาร สัมภาษณ์ สังเกตและน าข้อมูลที่ได้ มาว ิเคราะห์ และเรียบเรียง
ผลการวิจัยพบว่าเมื่อประมาณ50 กว่าปีที่ผ่านมาได้มีวัฒนธรรมในการลงข่วงเข็นไหมในชุมชน บ้านหนองบ่อ โดยมีการรวมตัวของหญิงสาวมาช่วยกันเตรียมทอผ้า ปั่นไหม ปั่นฝ้ายในเวลากลางคืน ส่วนชาย หนุ่มจะชวนกันมาเกี้ยวพาราสี หรือพูดผญาเกี้ยวสาว หลังจากที่ว่างเว้นจากการทาไร่ ทานา แต่ในปัจจุบัน วัฒนธรรมดังกล่าวได้เลือนหายไปจากชุมชน ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดโดยนารูปแบบการแสดงที่สื่อถึงอัตลักษณ์ วัฒนธรรมประเพณี คือการลงข่วงในหมู่บ้านหนองบ่อ และได้นาเอาภูมิปัญญาในการทอผ้านามาต่อยอด เพื่อสร้างสรรค์นาฏศิลป์พื้นบ้านโดยแบ่งการแสดงออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 การลงข่วงของสาว ชาวบ้านหนองบ่อ เช่น การเลือกเส้นไหม การร้อยหลอดไหม เป็นการนาเสนอกรรมวิธีต่าง ๆ ก่อนนาไปทอ เป็นผืนผ้า ช่วงที่ 2 สื่อถึงการเกี้ยวพาราสีของชายหนุ่มและหญิงสาว ช่วงที่ 3 การแสดงสื่อความหมายถึง ความงามลวดลายบนผืนผ้าที่หญิงสาวบ้านหนองบ่อมีความภาคภูมิที่ได้สวมใส่ผ้าไหมลายปราสาทผึ้ง
ผู้วิจัยได้รับแรงบันดาลใจท่ารามาจากกรรมวิธีการทางานลงข่วงโดยศึกษาจากอิริยาบถ ท่าทาง ธรรมชาติในการเกี้ยวพาราสีของชายหนุ่มและหญิงสาวมาดัดแปลงให้เป็นรูปแบบของการแสดงและนาท่ารา กลองตุ้มที่เป็นเอกลักษณ์บ้านหนองบ่อ อีกทั้งจินตนาการและประดิษฐ์ท่ารามาจากการทอผ้า เช่น การสาวไหม การม้วนไหม การตาหูกมาผสมผสานกับท่าราของนาฏศิลป์ ประกอบกับบทร้องที่ใช้ดนตรีพื้นบ้านอีสานประกอบ กับลายแคนหมาอีแดงเลาะหาด ซึ่งเป็นเพลงพื้นถิ่นของบ้านหนองบ่อ และได้นารูปแบบการแต่งกายของ ชุมชนมาดัดแปลงให้เกิดความสวยงามมากยิ่งขึ้น แต่ยังคงอัตลักษณ์รูปแบบไว้ โดยการแสดงแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มชาวบ้านใช้นักแสดงชาย 4 คน หญิง 4 คน และนักแสดงหญิงที่นุ่งผ้าลายปราสาทผึ้ง 8 คน
ABSTRACT : The Weaving Wisdom of Ban Nong Bo, Ubonratchathani Province to Create the Dance of Ban Nong Bo Silk Weaving in Wax Castle Pattern : Warangkhana Wuttichuay : Ubon Ratchathani Rajabhat University : 2018 The objectives of The Weaving Wisdom of Ban Nong Bo, Ubonratchathani Province to Create the Dance of Ban Nong Bo Silk Weaving in Wax Castle Patterns are to study and collect the wisdom In weaving Mudmee silk in wax castle pattern of Ban Nong Bo community. Another objective is to create folk dance performance set of Ban Nong Bo silk weaving in wax castle pattern from the weaving wisdom of Ban Nong Bo to be the identity of the community. Data are collected on site and some are collected from document, Interview and observation, then data are analyzed and compiled. The results of the research show that approximately 50 years ago there was a culture of spinning the silk threads at the courtyard in Ban Nong Bo community. Young women gathered together to help each other to prepare weaving and spinning silk and cotton threads at night. Young men would come to flirt or read poem to young women after freeing from farming. However, now the culture has disappeared from the community. Therefore, the performance to convey the cultural identity, working in the courtyard of Ban Nong Bo, is created and furthered the weaving wisdom. The dance is divided into 3 parts. Part 1 is the work in the courtyard of Ban Nong Bo young women, such as choosing silk threads and threading silk tubes. It is to show various processes before weaving the thread into fabric. Part 2 represents the flirtation of young men and women. Part 3 shows the meaning of beauty of the fabric patterns that Ban Nong Bo women are proud of when wearing silk with wax castle pattern. The dance moves are inspired from the working process in the courtyard by studying from natural gestures of flirtation of young men and women and adapting them into a performance. The unique Klong Tum drum dance of Ban Nong Bo is also added to the performance. The weaving gestures, such as drawing silk, rolling silk and weaving silk, are combined with the dancing art to create the new dance moves. In addition, the lyrics are created combining northeastern folk music with the rhythm of Ma E Daeng Lor Had (A female dog named Daeng walked along the beach), which is the local music of Ban Nong Bo. The dress patterns of the community are also adapted to make it more beautiful but still maintaining the identity. The performance is divided into 2 groups: the villagers are performed by 4 male actors, 4 female actors, and 8 female actors wearing silk with wax castle pattern.