แนวทางพัฒนากฎหมายการจ้างแรงงานและคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุ
บทคัดย่อ/Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1.ปัญหากฎหมายการจ้างแรงงานและคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุของประเทศไทย 2. กฎหมายการจ้างแรงงานและคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุในประเทศไทยเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ 3. แนวทางพัฒนากฎหมายการจ้างแรงงานและคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดและความเป็นมาทางกฎหมายในการคุ้มครองแรงงานสูงอายุ ทฤษฎีกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และแนวนโยบายแห่งรัฐ เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัยคือ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญและผู้บังคับใช้กฎหมาย ได้แก่ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ทนายความ จำนวน 3 ราย กลุ่มที่ 2 เจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ได้แก่ นักพัฒนาสังคม จำนวน 3 ราย และผู้ประกอบการ ที่จ้างแรงงานผู้สูงอายุ จำนวน 3 ราย และกลุ่มที่ 3 ผู้ทำงานที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 5 ราย รวมทั้งสิ้น 14 ราย ใช้วิธีคัดเลือกตัวอย่างเองตามเป้าหมายที่ผู้วิจัยกำหนด (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เจาะลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า
ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายในเรื่องการจ้างแรงงานสูงอายุ ซึ่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานสูงอายุ และพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ยังไม่ระบุชัดเจนถึงแรงงานผู้สูงอายุ เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายอเมริกา ออสเตรเลียที่กำหนดอายุไว้ 65 ปี สำหรับแนวทางพัฒนากฎหมายการจ้างแรงงานและคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุ ควรแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ แก้ไขเพิ่มเติมเรื่องแรงงานผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน และเพิ่มเติมการคุ้มครองแรงงานโดยเพิ่มหมวดผู้สูงอายุ สำหรับข้อเสนอแนะอื่นๆ ควรมีรูปแบบการบริหารจัดการการขยายเกษียณอายุ กำหนดลักษณะงานของผู้สูงอายุหลังเกษียณที่ผ่านการประเมินความพร้อมแล้วให้เหมาะสมกับประเภทของงาน เว้นแต่เป็นลักษณะงานเฉพาะ เพื่อให้เป็นไปตามหลักความเสมอภาค ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
This research are made to study 1. Thailand elderly labor employment and protection law’s issues 2. Comparison between Thailand’s elderly labor employment and protection law to other countries 3. Guidance for developing elderly labor employment and protection. This Qualitative Research applied the root and idea of state law that governs aged labor group in cooperation with Labor Protection Act and State Policy as a conceptually framework. The area that this study focuses on is the Ubon Ratchathani province. The studied group comprised of 14 people and was divided into 3 categories. First, Specialist and Law Enforcement consists of a lecturer from the Department of Law and lawyer (3 persons). Second, Government Officials obligated to the old-aged group consists of 3 Social Developers, 3 entrepreneurs who operate with elderly workers. Third, 5 workers age above 60. Purposive sampling are means that are used to select above subjects. The detail interview is the tool for gathering information. Thus, the results are analyst and presented in the form of Descriptive Research
The result shows that;
Thailand has no law about the employment of elderly labor. According to Labor Protection Act B.E. 2541 and Elderly Person Act B.E. 2546, there is nothing that clearly stated the aforementioned compared to American and Australian Law that says the aged group is 65 years and above. The guideline for developing elderly labor employment and protection law should focus on adding; a.) The employment of old- aged workers, b.) Compensation for Elderly Labor and c.) Labor Protection for elderly group. Additional proposals that related to the principle of equity from the