การส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานนอกระบบสำหรับผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ/Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาศักยภาพของผู้สูงวัยที่เป็นแรงงานนอกระบบ 2. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาศักยภาพของผู้สูงวัยที่เป็นแรงงานนอกระบบ 3. เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงสวัสดิการและการคุ้มครองผู้สูงวัยที่เป็นแรงงานนอกระบบ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัยคือ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ตัวแทนผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบ ทั้งในส่วนของภาคการเกษตร อุตสาหกรรม การค้า และรับใช้ตามบ้าน ประเภทละ 2 ราย กลุ่มที่ 2 ผู้ประกอบการ โดยเลือกจากลักษณะการประกอบกิจการรูปแบบที่แตกต่างกัน จำนวน 5 ราย และกลุ่มที่ 3 เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสวัสดิการผู้สูงอายุ จำนวน 3 ราย รวมทั้งสิ้น 16 ราย ใช้วิธีคัดเลือกตัวอย่างเองตามเป้าหมายที่ผู้วิจัยกำหนด (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เจาะลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า 

  1. ผู้สูงวัยที่เป็นแรงงานนอกระบบมีศักยภาพในการทำงานด้วยตนเองตามความถนัด

  2. การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาศักยภาพของผู้สูงวัยที่เป็นแรงงานนอก

ระบบนั้น ควรส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมสำหรับการสร้างอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ และส่งเสริมทักษะความรู้เกี่ยวกับอาชีพตามความต้องการของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบ 

3. การเข้าถึงสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบยังเป็นปัญหาหลักเนื่องจากการขาดหลักประกันในการคุ้มครองสวัสดิการในฐานะที่เป็นแรงงาน ยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน ความปลอดภัยในการทำงาน และหลักประกันทางสังคม 

สำหรับข้อเสนอแนะ คือ ควรออกพระราชบัญญัติส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ สำหรับผู้สูงอายุเพื่อให้มีสิทธิยื่นคำขอขึ้นทะเบียนต่อหน่วยงานของรัฐ ในการรับสิทธิประโยชน์ทางกฎหมาย กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมและคุ้มครองสวัสดิการแรงงานนอกระบบเพื่อกำหนดนโยบาย แผนงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการวางแผนชีวิตตนเอง การส่งเสริมการออม ทั้งนี้การจัดสวัสดิการต้องคำนึงถึงความเสี่ยง และเพศสภาพด้วย

The objectives of this study are 1. The potential of elderly informal sector toward the labor aspect 2. Participation in problem-solving and improvement for elderly informal sector 3. Encouraging elderly informal sector to retain the welfare benefits and safeguard their rights. The form of this study is a qualitative research, the area covered is Ubon Ratchathani Province. The samples are mainly the following groups; First, the representative of elderly informal workers from agricultural, industrial, trade and household worker each has 2 samples. Second, the owners, by choosing from different forms of businesses. These groups have 5 samples. Third, 3 Government officers who are directly responsible for taking care of elderly well-being and benefits. The totals of 16 samples were selected by the mean of purposive sampling. A thorough interview is the tool to congest the information and rearrange it in Descriptive Research.

The result shows;

1. The elderly informal sector has potential to work for a specific set of skills that they are keen on. 

2. In order to improve and help with a problem that exists toward the elderly informal sector. There should be a career guideline plus skill and knowledge improvement that directly answers what they are really good at. Thus, it will increase their income. 

3. There is an issue for elderly informal sector to reach a fundamental benefit due to the lack of collateral for protection of welfare, workplace safety and social security. 

My suggestions are issuing the Elderly informal sector labor protection Act that helps promote basic benefit and well-being to be able to be legally recognized by the state or government. Furthermore, establish the committees responsible for the protection and endorsement that will help guide the informal sector to receive basic benefit, encourage work-live planning and saving that cover risk management and gender aspect.