แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ อย่างยั่งยืนในจังหวัดอุบลราชธานี
บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุบลราชธานี และ 2) เพื่อหาแนวทางเสริมสร้างศักยภาพการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุบลราชธานี ผลการวิจัย พบว่า
1. ศักยภาพการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของจังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วยการเตรียมความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยว สภาพทางกายภาพ ความรู้ความสามารถ การมีส่วนร่วมของชุมชน และการมีส่วนร่วมของหน่วยงาน รวมทั้งการประเมินจุดแข็งคือการมีทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย หน่วยงานมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวมีการจัดพื้นที่เฉพาะ เพื่อให้บริการด้านอาหารเครื่องดื่ม และของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยว ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยการมีสินค้าพร้อมขายให้กับนักท่องเที่ยว โอกาสพัฒนาของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานีอยู่ในระดับดีเนื่องจากกระแสความนิยมในการท่องเที่ยวธรรมชาติขยายตัวเพิ่มมากขึ้น อุปสรรคของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานี คือ การมีคู่แข่งขันทางการท่องเที่ยวจากจังหวัดใกล้เคียง จุดแข็งของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานีอยู่ในระดับปานกลาง
2. แนวทางเสริมสร้างศักยภาพการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย 1) ด้านนโยบาย จัดทำแผนการพัฒนาการท่องเที่ยว การกำหนดข้อปฏิบัติ ข้อห้ามต่าง ๆ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง การพัฒนามาตรฐาน 2) ด้านการบริหารจัดการ งบประมาณ ความเสี่ยง การพัฒนาระบบการบริหาร และ 3) ด้านการดำเนินงาน ด้วยการจัดทำฐานข้อมูล การพัฒนาคน
การพัฒนาพื้นที่ การพัฒนาศักยภาพการส่งเสริมการขาย ลูกค้าสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์ การสร้างเครือข่าย
The objectives of this research are 1) to study potentiality of organizing sustainable nature-based tourism activities in Ubon Ratchathani and 2) to find out guidelines to enhance potentiality of organizing sustainable nature-based tourism activities in Ubon Ratchathani. Results are found that;
Potentiality of organizing nature-based tourism activities of Ubon Ratchathani comprises attractions preparation, geographic location, knowledge, community participation and agency participation. For evaluation, strengths are a variety of natural resources. Agencies participate in attractions development with specific areas to serve food, beverages, and souvenirs for tourists. Communities participate in attractions development with having sale products for tourists. Opportunities for attractions development in Ubon Ratchathani are in a good level due to the popularity growing of nature-based tourism. Threats are the tourism competition from nearby provinces. Weaknesses of attractions in Ubon Ratchathani are in a neutral level.
Guidelines to enhance potentiality of organizing sustainable nature-based tourism activities in Ubon Ratchathani consist of 1) policy aspect; tourism development plans, regulations and rules, relevant laws, standards development, 2) management aspect; budget, risk, management system development, and 3) operation aspect; database, human development, area development, potentiality development of sale promotion, customer relations, public relations, network partnerships.