พื้นบ้านสู่นวัตกรรมชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กรณีศึกษาชุมชนชาวบรูบ้านท่าล้ง ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาภูมิปัญญาผ้าทอของชาวบรู บ้านท่าล้งอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมจากผ้าทอพื้นบ้านของชาวบรูบ้านท่าล้งอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี 3)เพื่อจัดทำหนังสือชุดความรู้ภูมิปัญญาผ้าทอพื้นบ้านไทยบรู บ้านท่าล้งอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี และ4)เพื่อสร้างนวัตกรรมผ้าทอพื้นบ้านของชาวบรูให้มีความหลากหลายเพื่อวางจำหน่ายในชุมชน และเป็นสินค้าให้นักท่องเที่ยว การวิจัยนี้เป็นการวิจัยชุมชนซึ่งผู้วิจัยได้บูรณาการระเบียบวิธีวิจัยของศาสตร์ทั้ง 3 สาขามาประยุกต์ใช้ในการวิจัย อันได้แก่ การศึกษาเชิงคุณภาพ การวิจัยแบบมีส่วนร่วม และการวิจัยทางคติชนวิทยา ซึ่งผู้วิจัยเลือกใช้เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบสอบถาม แบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วมเพื่อเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ชาวบรูบ้านท่าล้งผลการศึกษาพบว่า ด้านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาภูมิปัญญาทอผ้าของชาวบรูบ้านท่าล้ง พบกระบวนการมีส่วนร่วม 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การสำรวจภูมิปัญญาผ้าทอ พบว่าชุมชนนำเสนอปัญหาของการพัฒนาผ้าทอไทยบรูใน 2 ประเด็น คือ ปัญหาด้านการขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ในการทอผ้า และปัญหาด้านการตลาด ขั้นตอนที่ 2 จัดเวทีชุมชนเพื่อระดมความคิดเห็น พบว่า ชุมชนได้นำเสนอ 3 ประเด็น ได้แก่ 1) เวทีชุมชนเสนอให้มีการแปรรูปผ้าทอไทยบรู 2) ชุมชนเสนอให้มีการจัดอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการสร้างงานผลิตภัณฑ์จากผ้าทอไทยบรู3) ชุมชนคัดเลือกผลิตภัณฑ์ตัวอย่างที่จะนำมาพัฒนาเป็นแนวทางการสร้างงานผลิตภัณฑ์จากผ้าทอไทยบรู ขั้นตอนที่ 3 จัดอบรมให้กับคนในชุมชน พบว่าการจัดอบรมเป็นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาทักษะการออกแบบ การเย็บผ้าโดยผู้วิจัยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการสร้างผลิตภัณฑ์จากพื้นบ้านสู่นวัตกรรมสินค้าของชุมชนมาอบรมชาวบ้านเพื่อให้ความรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์อันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์จากผ้าทอพื้นบ้านไทยบรู ขั้นตอนที่ 4 ร่วมกับชุมชนในการผลิตนวัตกรรมจากผ้าทอไทยบรู พบว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอของชาวไทยบรูได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ประเภทหมวก พบ 3 แบบ คือ หมวกทรงบักเกต หมวกทรงทิวลิป และหมวกทรงดอกไม้ ส่วนผลิตภัณฑ์ประเภทกระเป๋า พบ 3 แบบ คือ กระเป๋าผ้าทรงกลม กระเป๋าผ้าทรงรี และกระเป๋าผ้าทรงเหลี่ยม ขั้นตอนที่ 5 นำข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์เพื่อจัดทำหนังสือชุดความรู้ และขั้นตอนที่ 6 จัดเวทีคืนความรู้สู่ชุมชน โดยเป็นการถ่ายทอดความรู้หลักการวิจัย การรับฟังข้อเสนอแนะจากนักวิชาการที่เกี่ยวข้องด้านแนวทางการพัฒนานวัตกรรมจากผ้าทอพื้นบ้านของชาวบรูบ้านท่าล้ง พบว่ามีแนวทางในการพัฒนาผ้าทอ 3 ลักษณะ คือ 1) การจัดสรรอุปกรณ์เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพทั้งในส่วนของความคงทนและความสวยงาม 2) การจัดหาวิทยากรเพื่ออบรมการใช้จักรอุตสาหกรรมในการเย็บผ้า และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมืองให้มีความหลากหลายภายใต้แนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ 3) การสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากผ้าทอพื้นบ้านที่ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของชาวไทยบรู
Objective of this research is 1) to study the participation process of the community in developing the wisdom of the Bru people. Ban Tha Long, Khong Chiam District Ubon Ratchathani Province. Ubon Ratchathani Province 3) to create a book, knowledge, wisdom, Thai folk textiles Ban Tha Long, Khong Chiam District Ubon Ratchathani Province And 4) to create innovations of Bru folk textiles to be diverse for distribution in the community. And as a product for tourists This research is community research in which the researcher has integrated the research methodology of all 3 disciplines to apply in this research, namely qualitative study. Cooperative research And folklore research The researcher chose to use research tools such as in-depth interviews, questionnaires. Record of Participatory Observations And did not participate in collecting data from the sample group in this research, namely villagers, community leaders, Bru Ban Tha Long people.
The study found that The process of community participation in the development of weaving wisdom of Bru Ban Tha Long people The 6 participatory processes were found, including: Step 1: Survey of Wisdom Weaving It was found that the community presented 2 problems for the development of Thai Bru weaving: the lack of materials for weaving equipment. And marketing problems. Step 2: Organize a community forum for brainstorming, it was found that the community presented 3 issues, namely 1) a community forum proposing a processing of Thai bru textiles 2) the community proposed a training for development. 3) The community selects sample products that will be developed as a guideline for creating products from Thai Bru textiles. Step 3 Provide training for people in the community. It was found that the training was the participation of the community in developing sewing design skills, where the researchers invited experts on creating products from local to community product innovation to train the villagers to share knowledge and experience. Creating added value to Thai Bru weaving products Step 4: Join the community to produce innovation from Thai Bru textiles, it was found that the development of Thai Bru weaving products can be 2 groups: 3 types of hats found: bucket hats. Tulip hat And a flower-shaped hat As for the type of bag products, there are 3 types of bags which are round cloth bags Oval bag And a square shaped cloth bag. Step 5: Bring the obtained information to synthesize to create a knowledge set book. And the 6th step provides a forum to return knowledge to the community Which is the transfer of knowledge on research principles Listening to suggestions from relevant scholarsInnovation development approach from local weaving of Bru Ban Tha Long people It was found that there are 3 guidelines for the development of woven fabrics: 1) equipment allocation to increase production capacity to obtain quality products in terms of durability and beauty 2) providing trainers to train the use of industrial machines in Sewing And processing of local fabric products to diversity under the creative economy.