การพัฒนามุ้งสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงไหม

บทคัดย่อ/Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความต้องการและรูปแบบของมุ้งสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงไหม ออกแบบและสร้างมุ้งสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงไหม ประเมินและทดลองใช้มุ้งสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงไหม และเผยแพร่วิธีการทำมุ้งสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงไหมในครัวเรือน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมในพื้นที่หมู่บ้านสมพรรัตน์ และหมู่บ้านใกล้เคียง อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชาธานี ผลการวิจัยพบว่า

เกษตรกรร้อยละ 83.3 มีปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ในการเลี้ยงไหม รองลงมาเกษตรกรร้อยละ 73.3 ข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่ในการเลี้ยงไหม และลำดับสุดท้ายเกษตรกรร้อยละ 26.7 ทำการเลี้ยงไหมไม่เป็น อีกทั้งยังพบว่า เกษตรกรบางครัวเรือนพอมีพื้นที่กลางแจ้งบ้างก็จะทำการเลี้ยงบริเวณภายนอกบ้าน โดยทำเป็นซุ้มสำหรับทำการเลี้ยงไหมในปริมาณที่ไม่มาก เพื่อให้มีอากาศถ่ายเทตามหลักการเลี้ยงไหมที่ดี ความต้องการของเกษตรกร พบว่า อยากให้มีการก่อสร้างโรงเรือนในลักษณะชั่วคราว หรือสามารถรื้อถอน และประกอบได้ง่าย เคลื่อนที่ได้สะดวก สามารถนำไปสร้างเองได้

การออกแบบโครงสร้างฐานมีความกว้าง 1.0x1.50 เมตร ชั้นแรกออกแบบให้เป็นเป็นชั้นที่รองรับมูลหนอมไหม สูงจากพื้น 0.5 เมตร เพื่อป้องกันมดและแมลง หรือสามารถวางไว้ในถาดใส่น้ำได้ ตัวโครงสร้างมุ้งมีความสูง 1.80 เมตร ส่วนที่เป็นจั่วหลังคามีความสูง 0.25 เมตร รวมแล้วตัวโครงสร้างมีความสูงทั้งสิ้น 2.00 เมตร การออกแบบส่วนที่เป็นชั้นเลี้ยงไหมมีทั้งสิ้น 4 ชั้น นับจากชั้นล่างสุดซึ่งเป็นชั้นรองรับมูลหนอนไหม ซึ่งจะมีตัวเลขกำกับแสดงหมายเลขชั้นไว้เพื่อป้องกันความสับสนในการถอดและประกอบ ในแต่ละชั้นมีความห่าง 0.25 เมตร

ผลการประเมินและทดลองใช้มุ้งสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงไหมผลการประเมินความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 4 ท่าน โดยประเมิน 4 ด้าน ซึ่งพบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นสอดคล้องกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 แสดงว่า โรงเรือนเลี้ยงไหมสำเร็จรูปถูกสร้างและพัฒนาขึ้นเป็นไปตามความต้องการของเกษตรกร การสำรวจความคิดเห็นกับเกษตรกลุ่มเป้าหมาย พบว่า เกษตรกรเห็นด้วยในด้านสามารถใช้วัสดุอื่นได้ตามความเหมาะสม ระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.57 ส่วนเบี่ยงเบมมาตรฐาน 0.49การเผยแพร่วิธีการทำมุ้งสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงไหมในครัวเรือน ไปเผยแพร่ให้กับกลุ่มเกษตรกรที่มีความต้องการเลี้ยงไหม และต้องการได้อุปกรณ์สำหรับเลี้ยงไหมในครัวเรือน โดยนำโรงเรือนต้นแบบและคู่มือการสร้างมอบไว้ที่ศูนย์ศิลปาชีพบ้านสมพรรัตน์ อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมแนะนำ และมอบคู่มือให้กับเกษตรกร อีกทั้งยังมอบต้นแบบให้กับหัวหน้ากลุ่มในการเลี้ยงไหม เพื่อให้ทำการเผยแพร่ต่อไปได้อีก

The aim of this research was to explore the needs and patterns of ready-made nets for raising silk, design and built ready-made nets for raising silk, evaluated and experiment the finished nets for raising silk, and disseminate methods for making nets for raising silk in households. Target groups is farmers who are raising silk in Sompornrat framer group in Ubonratchatani Province. The research found that.

83.3 percent of farmers have problems with silk raising equipment. Followed by farmers, 73.3%, restrictions on the area of raising silk and lastly, 26.7 percent of farmers do not raise silk. Some households have enough space for outdoor activities to be raised outside the house, by making a facade for raising silk in small quantities. In order to have good ventilation according to the principle of silkworm raising. The needs of farmers found that they wanted a temporary construction of the housed, or can be dismantled and easy to assemble convenient to move can be created.

The design of the base structure is 1.0x1.50 meters wide. The first floor is design to be a floor that supports the silk ground height of 0.5 meters to protect ant and insects, or can be placed in a water tray the structure of the nets is 1.80 meters in height and the height of the roof is 0.25 meters. The structure has a total height of 2.00 meters. The design of the silk floor has 4 layers, from the bottom floor which is the supporting layer. Silkworms which has a number indicating the floor number to prevent confusion in removing and assembling in each floor, there is a distance of 0.25 meters, the width that is fit, not too wide or too narrow to bring the silkworm into and out between.

The results of the evaluation and trial of finished nets for raising silk the results of the assessment of the consistency of 4 experts by evaluating 4 aspects, which found that the experts have a consistent opinion at the significance level of .05, indicating that the finished silk house is built and developed according to the needs of farmers. The survey on the target group found that farmers agreed in terms of using other materials as appropriate. The highest level With an average of 4.57 standard deviation 0.49

Dissemination of methods for making nets for raising silk in households to distribute to farmers who have a need to raise silk And want to get equipment for raising silk in the household by bringing the prototype house and a handbook for building at Ban Sompornrat Arts and Crafts Center, Buntharik District, Ubon Ratchathani Province and also gave the model to the leader of the group to raise silk for further dissemination.