ระบบต้นแบบสำหรับการบริหารจัดการสารสนเทศ การตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่ม

บทคัดย่อ/Abstract

ด้วยในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิต ในชีวิตประจำวันของมนุษย์อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร การทำงาน การเดินทาง การศึกษา เห็นได้จากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการนำเอาความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาสนับสนุนการตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มในท้องถิ่น เพื่อให้ได้น้ำสะอาดไว้ใช้ในการอุปโภค-บริโภคในชุมชน งานวิจัยนี้ผู้วิจัยจึงได้ทำการพัฒนาระบบต้นแบบสำหรับการบริหารจัดการสารสนเทศการตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มตามมาตรฐานคุณภาพน้ำบาดาลที่ใช้บริโภค ซึ่งมีความสามารถในการวิเคราะห์และประเมินความแตกต่างของคุณภาพแหล่งน้ำ และรายงานผลคุณภาพแหล่งน้ำได้ โดยสามารถทำงานได้ทั้งบนเว็บแอปพลิเคชัน และแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ระบบทั้งสองได้ถูกประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ และผู้วิจัยได้นำระบบไปถ่ายทอดเพื่อให้ผู้ใช้งานในชุมชนได้ทดลองใช้แล้ว พบว่า ผลของการประเมินประสิทธิภาพของระบบทั้ง 4 ด้าน คือ 1) ด้านความสามารถทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ 2) ด้านการใช้งานของระบบ 3) ด้านหน้าที่ของระบบ 4) ด้านความปลอดภัย โดยผู้เชี่ยวชาญ และผู้ใช้งานอยู่ในระดับดี

Nowadays, information and communication technology has played an important role in life, in the daily life of mankind all the time. Communication, work, travel and education are evidenced by the continued increase in the number of internet and mobile users. To bring the capabilities of information and communication technology to support the inspection of local drinking water quality in order to obtain clean water for consumption. In this research, the researchers have developed a prototype system for water quality monitoring information management according to the quality standards for drinking water quality. This system has the ability to analyze

and assess differentiation of water quality and can report the quality of water sources. Moreover, the system also can work on both web applications and mobile applications. Both systems were evaluated by experts and users in the community for testing to obtain the results of the performance of the system in four aspects which are 1) the ability to work according to the needs of the user 2) the usage Of the system 3) the front of the system 4) the safety. The results reveal that the prototype system for water quality monitoring information management are at a good level satisfaction.