การเพิ่มมูลค่าเชิงเศรษฐกิจให้กับผ้าทอท้องถิ่นและเชื่อมโยงไปสู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษากลุ่มสตรีทอผ้ากาบบัวบ้านเอือดใหญ่ ตำบลเอือดใหญ่ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี
บทคัดย่อ/Abstract
การศึกษาเรื่องการเพิ่มมูลค่าเชิงเศรษฐกิจให้กับผ้าทอท้องถิ่นและเชื่อมโยงไปสู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษากลุ่มสตรีทอผ้ากาบบัวบ้านเอือดใหญ่ ตำบลเอือดใหญ่ อำเภอศรีเมืองใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการผลิตผ้าไหมกาบบัวกระบวนผลิตและต้นทุนการผลิตผ้าไหมกาบบัว เพื่อหาแนวทางการลดต้นทุนการผลิตและการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับผ้าไหมกาบบัว รวมทั้งสำรวจข้อมูลพื้นฐานที่สนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนบ้านเอือดใหญ่ ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบการผลิตผ้ากาบบัวของจังหวัดอุบลราชธานีสามารถผลิตได้ทั้งเส้นใยจากฝ้ายและเส้นใยจากไหม รูปแบบการทอผ้ากาบบัวแยกตามวิธีการทอ ได้แก่ การทอผ้าด้วยวิธีการมัดหมี่ การทอผ้าด้วยวิธีการขิด การทอผ้าด้วยวิธีการจก และการทอผ้าผสมไหมคำ 2) ต้นทุนการผลิตผ้าไหมกาบบัวเฉลี่ยต่อผืน ประกอบด้วย วัตถุดิบทางตรง แรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายในการผลิต มีต้นทุนเฉลี่ยผืนละ 2,707.52 บาท มีราคาขายผืนละ 1,800 บาท เมื่อคำนวณต้นทุนและผลตอบแทนทำให้มีผลขาดทุน 907.52 บาท 3) การพัฒนาผ้าไหมกาบบัวให้เป็นผลิตภัณฑ์ คณะผู้วิจัยได้พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ 4 ประเภท คือ กระเป๋าใส่เครื่องสำอาง เครื่องประดับผม เข็มกลัดติดเสื้อ และพวงกุญแจ ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภค พบว่า ต้นแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมกาบบัวประเภทเข็มกลัดติดเสื้อและเครื่องประดับผม เป็นที่ต้องการของตลาดมากที่สุด จึงได้ให้กลุ่มสตรีพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งสองชนิดนี้ออกจำหน่าย และ 4) ชุมชนบ้านเอือดใหญ่ มีวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมประเพณีแบบอีสานที่ให้สุภาพสตรีทอผ้า ทำให้ผู้หญิงในชุมชนมีทักษะและความรู้เกี่ยวกับการทอผ้ากาบบัว ชุมชนมีแหล่งท่องเที่ยวทางศาสนสถานหลายแห่ง การพัฒนาให้ชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่มสตรีทอผ้ากาบบัว และส่วนงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันสร้างเส้นทางวัฒนธรรมของชุมชน และส่งเสริมให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว
The purpose of this paper was to study the economic value added in Kabbaw local textile for the linked of cultural tourism at Uat Yai community. The results showed that the average cost of production of Kabbaw textile per piece comprise of direct raw materials, direct labor, and production costs. The average total cost per piece is 2,707.52 baht but the selling price is 1,800 baht, the consequence after calculated the cost and return of loss rate is 907.52 baht. The labor cost is an important element in Kabbaw textile at Uat Yai community. In this amount considered to live sufficiency happily in the community. The approach to reduce the cost of production of Kabbaw textile is to grown mulberry silks and dyed it with natural plant colors which can be found locally. The local sould plan for production planning to transfer knowledge and techniques to one another. The research team developed Kabbaw textile as women hair accessories fabric pins from the satisfaction of consumer needs. Uat Yai community guidelines were to help cultural tourism development, the cooperation between community leaders, women’s community of kabbaw and government sectors to support local communities in the cultural route building process.