การศึกษาการแพทย์ผสมผสานและการแพทย์ทางเลือกในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ของประเทศในเขตอาเซียน

บทคัดย่อ/Abstract

วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ในการดูแลรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมของประเทศในเขตอาเซียน ซึ่งได้แก่ ประเทศไทย ประเทศเวียดนาม และประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งโรคข้อเข่าเสื่อมนับเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวด เดินลำบากจนถึงทำให้เกิดภาวะเข่าผิดรูปได้ ซึ่งในการรักษาแผนปัจจุบันมุ่งเน้นที่จะลดอาการปวด อาการอักเสบที่เกิดขึ้น โดยใช้เทคนิควิธีต่าง ๆ เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ รวมไปถึงการฉีดสารสเตอรอยด์เพื่อลดการอักเสบภายในเข่า ถึงแม้ว่าการรักษาดังกล่าวจะลดอาการเจ็บปวดได้เร็ว แต่กลับพบว่ามีผลเสียจากการใช้ยา ดังกล่าวในระยะยาวตามมา ดังนั้นการแพทย์ทางเลือกจึงมีความสำคัญ จากการศึกษาในครั้งนี้ทำให้ทราบว่าในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และพื้นที่ใกล้เคียงมีแนวทางในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมแตกต่างกันไป แต่โดยภาพรวมแล้ว มีการซักประวัติ การตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัย มีการรักษาโดยการนวดหรือหัตถการอื่น ๆ ประกอบการนวด เช่น การประคบ การพอกยาสมุนไพร เพื่อบรรเทาอาการปวด ขัดข้อเข่าและตำรับยาสมุนไพรที่หาได้ง่ายตามป่าชุมชน ในพื้นที่เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมมีความคล้ายคลึงกับประเทศไทย โดยพบว่ามีการซักประวัติ การตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยอาการการรักษาโดยการนวดหรือหัตถการอื่น ๆ ประกอบการนวดด้วยเช่นกัน แต่ในประเทศเวียดนามนอกจากตำรับยาที่ใช้ในการรักษาแล้ว ยังพบว่ามีการฝังเข็มร่วมด้วย องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม และเป็นข้อมูลที่สำคัญเพื่อการพัฒนากระบวนการรักษาหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลรักษาข้อเข่าเสื่อมต่อไป

The objective of this study is to collect the knowledge in osteoarthritis of knee (OAknee) treatment in the ASEAN countries, including Thailand, Vietnam and Indonesia. OA knee is one of the most common health problems, causes pain and discomforts in walking to the knee. Modern treatment focuses on reducing pain or inflammation by using techniques such as painkillers, anti-inflammatory drugs, and steroid injections to reduce inflammation within the knee. Although this treatment reduces pain quickly, it has been found to be negative effects for long-term use. Therefore, alternative medicine is very important. The results of this study revealed that in Ubon Ratchathani Province and nearby areas, there were different guidelines for the treatment of OA knee. However, overall, it included history taking, physical examination and treatment by massage or other procedures including massage such as herbal compress, knee reshaping and treatment with herbal remedies readily available in local forests. In Hue, Vietnam, the treatment for OA knee was similar to that of Thailand, where history taking, physical examinations, massage therapies or other procedures have also been found in massage therapy. However, in Vietnam there were both internal and external recipes. It was also found that acupuncture was involved. The knowledge gained from this study is very useful in the care of OA knee patients and is important information for further development of treatment processes or developing OA knee care products.