การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยหมักคุณภาพสูงจากก้อนเชื้อเห็ดที่ใช้แล้วเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ/Abstract

การปรับปรุงและพัฒนาวัสดุก้อนเห็ดเหลือทิ้งจากการเพาะเห็ดนางฟ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสัมมาชีพชุมชนบ้านหนองทุ่ม ตำบลศรีสำราญ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ โดยนำก้อนเห็ดเหลือทิ้งมาผ่านกระบวนการหมักทางชีวภาพแบบกองปุ๋ยด้วยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเจริญและการป้องกันราโรคพืช โดยคัดแยกแบคทีเรียกลุ่มแอคติโนมัยซีตจากดินรอบรากหอมในแปลงเกษตรอินทรีย์ พบว่าแอคติโนมัยซีตสามารถยับยั้งเชื้อรา Sclerotium sp. (ราก่อโรครากเน่าโคนเน่า) มีเปอร์เซ็นต์ยับยั้งดีถึง 63 เปอร์เซ็นต์ และยับยั้งรา Fusaruim sp. (ราก่อโรคเหี่ยวเหลือง) มีเปอร์เซ็นต์ยับยั้งดีถึง 80 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำแบคทีเรียที่คัดแยกได้ใช้เพิ่มเป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ในกระบวนการหมักก้อนเห็ด หลังใช้ระยะเวลาในการหมัก 45 วัน พบว่าปุ๋ยหมักก้อนเห็ดนางฟ้าร่วมกับปุ๋ยคอก กากน้ำตาล และหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่คัดแยกได้ มีลักษณะทางกายภาพที่ดีและมีปริมาณธาตุอาหารที่เหมาะสม ได้แก่ สี กลิ่น ค่าความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณ C/N ratio ปริมาณธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ส่งผลให้ปุ๋ยหมักก้อนเห็ดมีประสิทธิภาพต่อการเจริญของพืชมากว่าการนำก้อนเห็ดที่ไม่หมักไปใช้โดยตรง นอกจากนี้มีการถ่ายทอดความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องปุ๋ยหมักก้อนเห็ดให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสัมมาชีพชุมชนฯ เพื่อนำไปใช้ผสมเตรียมดินปลูกทำให้ลดปริมาณหรือทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีและส่งเสริมการเกษตรแบบอินทรีย์ได้ 

The spent mushroom substrate from mushroom cultivation of community enterprise, Ban Nong Thum, Si Samran sub-district, Wanghin Sisaket province, was improved and developed to compost. Spent substrate was fermented by microorganism that high efficiency to plant growth promoting and antagonistic to plant pathogenic fungi. Actinomycetes, bacteria were isolated from soil surrounding green onion organic planting. They were antagonistic to Sclerotium sp. (root rot disease) to 63 percentages and antagonistic to Fusaruim sp. (wilt disease) to 80 percentages of inhibition which these actinomycetes were mixed with spent mushroom substrate for compost fermentation. After 45 days of fermentation, the compost has shown good physical properties such as color, odor, pH and plant nutritional including C/N ratio, nitrogen, phosphorus, potassium which suitable for plant promoting. Therefore, the spent mushroom compost can be promoting plant growth better than directly using non-fermented spent substrate on planting. Moreover, this knowledge was transferred to Ban Nong Thum’s community enterprise that compost is possible to preparation of soil mixture and replace of chemical fertilizers in organic agriculture.