การพัฒนารูปแบบเส้นทางอาหารปลอดภัยเพื่อสุขภาวะของชุมชนม่วงสามสิบแบบมีส่วนร่วม อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี

บทคัดย่อ/Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนารูปแบบเส้นทางอาหารปลอดภัยเพื่อสุข ภาวะของชุมชนม่วงสามสิบแบบมีส่วนร่วม อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี โดยประชุมกับ Stake holder เพื่อ1) หาสถานการณ์ปัญหาสุขภาพในชุมชนม่วงสามสิบ 2) กิจกรรมแปลงปลูกผักของ เกษตรกร และตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้าง เบื้องต้น 3) ถอดบทเรียนร่วมกับชุมชน 4) เสนอแผน ระดับอำเภอ เพื่อพัฒนาเส้นทางอาหารปลอดภัยเพื่อสุขภาวะของชุมชนม่วงสามสิบ ผลการศึกษา สรุปว่า พื้นที่ปลูกผักในพื้นที่ อ.ม่วงสามสิบ พบสารเคมีกลุ่ม carbamate และ organophosphate ในพื้นที่ อ.ม่วงสามสิบ จ. อุบลราชธานี โดยใช้ชุดทดสอบ GT test kit® ในผักที่สุ่มได้ ร้อยละ 88.57 ดังนั้นชุมชนแห่งนี้ ควรมีการเฝ้าระวังการตกค้างสารเคมีในผัก ก่อนส่งขายตลาดชุมชนต่อไป เพื่อ สอดคล้องกับนโยบายลดการใช้สารเคมีของพื้นที่ม่วงสามสิบในปัจจุบัน และได้มีการเสนอแผนระดับ อำเภอ ในการพัฒนารูปแบบเส้นทางอาหารปลอดภัยเพื่อสุขภาวะของชุมชนม่วงสามสิบ โดยการทำ แลนด์มาร์คอาหารอาหารปลอดภัยเพื่อสุขภาวะที่ดีของชุมชนม่วงสามสิบในอนาคต ทั้งนี้สิ่งที่ต้องทำ อันดับแรก คือ

1) ส่งเสริมให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมีที่มีอันตรายร้ายแรงในพื้นที่ก่อน

2) ส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรบางกลุ่มที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการไม่ใช้สารเคมี ให้เป็น เกษตรอินทรีย์ โดยมุ่งเป้าหมายที่ 5% ในปีแรก

3) เสนอให้มีการเปิดตลาด เพื่อเป็นเส้นทางอาหารปลอดภัยเพื่อสุขภาวะของชุมชนม่วงสามสิบ บริเวณถนนเส้นหลักของอำเภอม่วงสามสิบ เพื่อเป็นแลนด์มาร์คก่อนเดินทางเข้าไปที่ตัวเมือง จ.อุบลราชธานี

This research was participatory development study. The purpose of the research was to develop Muang Sam Sip community participation for pattern of food security path at Muang Sam Sip District, Ubon Ratchathani Province. By stakeholder meeting, process of the research included four steps. First step was analysis of problems at Muang Sam Sip community. Second step was activity for farmer’s vegetable plot and analysis of residue. Third step was lesson learned with the community. Fourth step was presentation about district level plan to develop Muang Sam Sip community for pattern of food security path. Findings showed that percentages of residue of carbamate and organophosphate at Muang Sam Sip District, Ubon Ratchathani Province were 88.57. Therefore, this Muang Sam Sip community should concern residue on vegetables before presenting the vegetables at markets. To support present policy of residue decease, the district level plan of development for pattern of food security path, and a landmark at the community for pattern of food security path, research team would like to present three aspects. First aspect is decease of farmers who have used hazard pesticides at the community. Second aspect is promotion and support of some farmers who are interested to change and reduce use of the pesticides. The first goal is five percentages of the farmers in the first year. Third aspect is presentation of street market for food security path at main street of Muang Sam Sip District, Ubon Ratchathani Province to be a landmark.