การพัฒนาและศึกษาสภาวะการผลิตครีมเทียมจากน้ำมันถั่วดาวอินคาที่เหมาะสม ด้วยเทคนิคเอนแคปซูเลทและการทำแห้งแบบพ่นฝอย
บทคัดย่อ/Abstract
ถั่วดาวอินคา (Plukenetia volubilis L.) เป็นพืชในตระกูล Euphorbiaceae น้ำมันถั่วดาวอินคาประกอบไปด้วยกรดไขมันจำเป็น ได้แก่ α-linoleic และ α-linoleic งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษากระบวนการผลิตครีมเทียมจากน้ำมันถั่วดาวอินคาด้วยเทคนิคเอนแคปซูเลทและการทำแห้งแบบพ่นฝอย เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ครีมเทียมที่มีคุณภาพและคุณลักษณะเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 208) พ.ศ. 2543 ด้วยการออกแบบการทดลองแบบ Box-Behnken design ประกอบด้วย 3 ปัจจัย ปัจจัยละ 3 ระดับ คือ สัดส่วนของอิมัลซิไฟเออร์ (0.8-1.2%) ความเข้มข้นของสารห่อหุ้ม (6-10%) และอุณหภูมิสำหรับการทำแห้งแบบพ่นฝอย (140-180 °C) ด้วยการพิจารณาค่าประสิทธิภาพการห่อหุ้ม (Encapsulation Efficiency : EE) สภาวะการผลิตที่เหมาะสม คือ สัดส่วนของอิมัลซิไฟเออร์ 1.0% ความเข้มข้นของสารห่อหุ้ม 8.6% และอุณหภูมิขาเข้าสำหรับการทำแห้งแบบพ่นฝอย 166 องศาเซลเซียส ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ครีมเทียมที่มีประสิทธิภาพการห่อหุ้มเท่ากับ 92.64% ความเข้มข้นของโปรตีนถั่วเหลืองระดับความเข้มข้นของโปรตีนถั่วเหลืองร้อยละ 0.6 0.8 และ 1 มีผลต่อค่าสีทำให้ได้ค่าความสว่างที่แตกต่างกัน และอุณหภูมิขาเข้าที่ 140, 160 และ180 องศาเซลเซียส มีผลต่อค่าความหนาแน่นเมื่ออุณหภูมิขาเข้าสูงขึ้นความหนาแน่นยิ่งลดลง สอดคล้องกับค่าความสามารถในการละลายลดลงเมื่ออุณหภูมิการทำแห้งสูงขึ้น อีกทั้งยังส่งผลให้ค่าปริมาณน้ำอิสระ (aw) และค่าความชื้นลดลงอย่างมีมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05)
Sacha inchi (Plukenetia volubilis L.) is cultivated commercially in South East Asia, most notably in Thailand. It has one of the highest α-linoleic and α-linoleic. One major problem associated with Sacha-inchi oil, besides its beany flavor, is its potential oxidative instability due to the highly unsaturated nature of its oil. The optimal condition of encapsulation and spray dry to produce non-dairy creamer product was investigated. There are three factors and 3 levels for Box-Behnken design experiment. The factors consisting of emulsifier ratio (0.8-1.2%), wall material concentration (6-10%) and inlet temperature (140-180 °C) were determined. The optimal condition of non-dairy creamer production was 1.0% emulsifier ratio, 8.6% wall material concentration and 166 °C inlet temperature, which gave the highest encapsulation efficiency about 92.64%. The inlet temperature is the main effect on moisture, water activity, solubility and bulk density decreased with increasing temperature.